พิกัดกำลัง (Power rating) ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

พิกัดกำลัง (Power rating) ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ค่าพิกัดกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟ เป็นกำลังสุทธิที่จ่ายให้กับโหลดที่ขั้วต่อด้านออกของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยไม่รวมกำลังที่จ่ายให้โหลด ภายในของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กำหนดเป็น kVA ที่ความถี่พิกัด (Rated Frequency) และค่าตัวประกอบกำลังมีค่าเป็น 0.8 Lagging เว้นแต่มีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น พิกัดกำลังตามมาตรฐาน ISO 8525-1 (2018) พิกัดกำลังแบบต่อเนื่อง (Continuous Power (COP) หรือ Base Load power) พิกัดกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบนี้เหมาะสำหรับการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนานเข้ากับระบบไฟฟ้าหลัก สามารถจ่ายให้กับโหลดได้อย่างต่อเนื่องจนถึง 100% ของพิกัดกำลัง แบบต่อเนื่องโดยไม่จำกัดเวลาได้ตลอดเวลาภายใต้เงื่อนไข การใช้งานประกอบกับการบำรุงรักษา รวมทั้งขั้นตอนในการดำเนินการที่กำหนดโดยผู้ผลิตซึ่งได้เห็นชอบร่วมกัน พิกัดกำลังพร้อมใช้ (Prime power, PRP) พิกัดกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งสามารถจ่ายให้โหลดได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ในกรณีที่ไฟฟ้าหลักขัดข้อง หรือเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าในบริเวณที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า จากการไฟฟ้าฯ และสามารถจ่ายโหลดได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่จำกัดเวลา สำหรับโหลดประเภทไม่คงที่ (Variable Load Applications) และค่าเฉลี่ยของโหลดแฟคเตอร์ไม่เกิน 70% ของพิกัดกำลัง *** อนุญาตให้ใช้เกินกำลังพิกัดได้ไม่เกิน 10% ไม่เกิน 1 ชม. ในรอบใช้งาน 12 ชม. *** พิกัดกำลังแบบไม่จำกัดเวลา (Unlimited Running time Prime Power, ULTP) จ่ายโหลดได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำกัดเวลาสำหรับโหลดประเภทไม่คงที่ (Variable Load Applications)  และค่าเฉลี่ยของโหลดแฟคเตอร์ไม่เกิน 70% ของพิกัดกำลัง  *** ไม่อนุญาตให้ใช้เกินกำลังพิกัด *** พิกัดกำลังแบบจำกัดเวลา (Limited time running power : LTP) คือพิกัดกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จ่ายสูงสุด (Maximum) คือ 100% ของพิกัดกำลัง พร้อมใช้ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งพิกัดกำลังของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชนิดนี้สามารถใช้งานได้ไม่เกินปีละ 500 ชั่วโมง พิกัดกำลังสำรองฉุกเฉิน (Emergency standby power : ESP) จ่ายให้เพื่อทดแทนกำลังไฟฟ้าหลัก ในกรณีไฟฟ้าหลักดับ หรือขัดข้องภายในเวลาที่กำหนด ไม่สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าเกินกว่าพิกัดสูงสุด ใช้งานได้ปีละไม่เกิน 200 ชั่วโมง พิกัดกำลังดาตาเซนเตอร์ (Data Center Power : DCP) ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่จำกัดเวลา ไม่สามารถใช้งานเกินกว่าพิกัดสูงสุด ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบจัดเตรียมขนาดพิกัดกำลังให้รองรับโหลดได้อย่างมีเสถียรภาพ *** ไม่อนุญาตให้ใช้เป็นแหล่งจ่ายพลังงาน คู่ขนานไปกับแหล่งจ่ายไฟหลัก เป็นระยะเวลานาน *** ที่มา // มาตรฐานออกแบบ และติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตามวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

หลักการทำงานของเครื่องปั่นไฟ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

หลักการทำงานของเครื่องปั่นไฟ เครื่องปั่นไฟ หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Generator ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับระบบไฟฟ้า ที่ต้องการความต่อเนื่องในการใช้งานที่ประสบกับปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับบ่อย สามารถตอบโจทย์ธุรกิจในยุคปัจจุบันได้ระดับหนึ่ง  เครื่องปั่นไฟนั้น มีหลักการทำงานในเชิงวิศวกรรม โดยการแปลง “พลังงานกล” ให้เป็น “พลังงานไฟฟ้า” ซึ่งจะอาศัยการหมุนวนของขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็ก หรืออาศัยการหมุนวนของสนามแม่เหล็กตัดกับขวดลวด ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternator) เนื่องจากเครื่องปั่นไฟประเภทนี้มีการให้กระแสไฟฟ้าที่สม่ำเสมอ และสามารถนำมาประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย มีส่วนประกอบสำคัญดังนี้ 1) เครื่องต้นกำลัง จะเป็นส่วนที่ให้กำเนิดพลังงานกลของเครื่องปั่นไฟออกมา ซึ่งมีหลากหลายแหล่งพลังงานทั้ง กังหันน้ำ, กังหันไอน้ำ, กังหันแก๊ส ฯลฯ 2) ตัวผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือ Generator มีหลักการทำงานคือ การอาศัยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กเพื่อให้กำเนิดพลังงานในเครื่องปั่นไฟ ปัจจุบันนิยมเลือกใช้ แบบไม่มีการใช้แปรงถ่าน BL Type เป็นรูปแบบการทำงานเพื่อให้กำเนิดพลังงานในเครื่องปั่นไฟโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่มีการใช้แปรงถ่าน Brushless Type เพื่อเหนี่ยวนำพลังงานของสนามแม่เหล็ก อันจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่สม่ำเสมอและสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เครื่องปั่นไฟ ที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดโดยทั่วไป จะมีส่วนของตัวต้นกำลัง ซึ่งนิยมใช้ในรูปแบบของ “เครื่องยนต์” โดยแบ่งออกได้เป็น เครื่องยนต์เบนซิน, เครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊ส ซึ่งคุณสามารถเลือกรูปแบบการใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการของคุณได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวครับ   และนี่ก็คือ “หลักการทำงานของเครื่องปั่นไฟ” ที่นำมาฝากกันในวันนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปั่นไฟได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวครับ และสำหรับผู้ที่ต้องการเครื่องปั่นไฟประเภทต่างๆ คุณสามารถขอคำแนะนำและเลือกซื้อได้ที่ บริษัท เทนเดอร์ จำกัด เพราะที่นี่เราคือผู้นำในผลิตภัณฑ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงงานบริการและอะไหล่เกี่ยวกับเครื่องปั่นไฟที่ครบครันที่สุดครับ

11 ข้อควรรู้ ก่อนการใช้งานเครื่องปั่นไฟ

11 ข้อควรรู้ ก่อนการใช้งานเครื่องปั่นไฟ  ในบทความนี้ บริษัท เทนเดอร์ จำกัด ผู้นำในผลิตภัณฑ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงงานบริการและอะไหล่เกี่ยวกับเครื่องปั่นไฟที่ครบครัน ขอนำเสนอ “11 ข้อควรรู้ ก่อนการใช้งานเครื่องปั่นไฟ” มาติดตามกันได้เลยครับ ขั้นตอนแรกในการเริ่มใช้งานเครื่องปั่นไฟทุกครั้ง คุณจะต้องมีการศึกษาคู่มือการใช้งานของเครื่องปั่นไฟโดยละเอียด และจะต้องมีการตรวจสอบสวิตซ์ไฟและอุปกรณ์ต่างๆให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมถึงศึกษาตำแหน่งวาล์ว การเปิดและปิดเครื่องปั่นไฟ เพื่อที่จะสามารถควบคุมเครื่องปั่นไฟได้อย่างแม่นยำ โดยสามารถใช้หลักการได้กับทั้งเครื่องปั่นไฟระบบ Manual และระบบ Automatic อีกด้วย มีความเข้าใจในระบบพื้นฐานของน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องปั่นไฟ โดยจะต้องมีการตรวจสอบระบบน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องปั่นไฟทุกครั้งก่อนการใช้งาน และน้ำมันเชื้อเพลิงจะต้องมีสภาพใหม่ เพื่อการใช้งานเครื่องปั่นไฟที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตรวจสอบระบบน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องปั่นไฟทุกครั้งก่อนการใช้งาน โดยจะต้องมีระดับของน้ำมันหล่อลื่นที่สมดุล,ได้มาตรฐาน เพื่อการใช้งานที่ลื่นไหลและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ตรวจสอบระดับ “น้ำหล่อเย็น” ในหม้อน้ำรังผึ้งของเครื่องปั่นไฟ โดยน้ำหล่อเย็นจะต้องเต็มถัง ฝาหม้อปิดน้ำและสายยางท่อน้ำต้องอยู่ในสภาพดี ตรวจสอบระดับประจุของแบตเตอรี่ เพื่อประสิทธิภาพอันสูงสุดของเครื่องปั่นไฟ ตรวจสอบขั้วสายไฟ และสายไฟทุกครั้ง โดยจะต้องอยู่ในสภาพดี, ไม่ชำรุด ตรวจสอบการรั่วซึมของระบบของเหลวทุกอย่างในตัวเครื่องปั่นไฟ ทั้งน้ำมันหล่อลื่น, น้ำกลั่น, น้ำมันเครื่องยนต์ ฯลฯ หากพบการรั่วซึมจะต้องได้รับการแก้ไขจากช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น ตรวจสอบระบบสายพานของเครื่องปั่นไฟ โดยสายพานจะต้องอยู่ในระดับมาตรฐาน ซึ่งระดับพูเล่ของ ใบพัดกับพูเล่ของไดชาร์ตจะต้องมีน้ำหนักการกดประมาณ 10 กิโลกรัม และตั้งความตึงให้อยู่ระหว่าง 11 ถึง 13 มิลลิเมตร ตรวจสอบระบบการระบายอากาศของเครื่องปั่นไฟ โดยใบพัดของระบบระบายอากาศจะต้องอยู่ในสภาพดี ไม่ชำรุดเสียหาย ทดสอบการเดินเครื่องของเครื่องปั่นไฟ โดยจะต้องมีการเดินเครื่องที่ราบรื่น ไม่มีอาการกระตุกหรืออาการวูบของเครื่องปั่นไฟเกิดขึ้น ตรวจวัดระดับอุณหภูมิภายในเครื่องปั่นไฟ โดยอุณหภูมิจะต้องอยู่ในระดับปกติ และอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นต้องไม่เกิน 94 องศาเซลเซียส เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับ “11 ข้อควรรู้ ก่อนการใช้งานเครื่องปั่นไฟ” ที่นำมาฝากกันในวันนี้ รับรองว่าหากคุณปฏิบัติครบทั้ง 11 ข้อข้างต้นนี้ จะทำให้การใช้งานเครื่องปั่นไฟของคุณเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสำหรับผู้ที่สนใจในเครื่องปั่นไฟทุกประเภท คุณสามารถขอคำแนะนำและเลือกซื้อได้ที่ บริษัท เทนเดอร์ จำกัด เพราะที่นี่เราคือผู้นำในผลิตภัณฑ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมถึงงานบริการและอะไหล่เกี่ยวกับเครื่องปั่นไฟที่ครบครันที่สุด

ดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟอย่างไรให้ถูกวิธี

1.  ก่อนการตรวจสอบและดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟของคุณทุกครั้ง คุณจะต้องทำการปิดสวิตซ์ไฟและปิดระบบการจ่ายไฟของเครื่องปั่นไฟก่อนเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเครื่องยนต์ ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดเองขณะทำการตรวจเช็คได้ 2.  ในทุกการใช้งานตลอดระยะเวลา 20 ชั่วโมงของการใช้งานเครื่องปั่นไฟ คุณจะต้องตรวจสอบและดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ ดังนี้ ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ โดยระดับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องปั่นไฟที่เหลือ จะต้องไม่มีตะกอนหรือคราบดำปรากฏให้เห็น และจะต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องยนต์ทุกครั้งก่อนการใช้งาน เพื่อเป็นการบำรุงรักษาสภาพเครื่องยนต์ภายในให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ทำความสะอาดหม้อน้ำหล่อเย็นในเครื่องปั่นไฟโดยการใช้ผ้าแห้งเช็ด และทำการตรวจสอบสภาพน้ำหล่อเย็น ซึ่งจะต้องมีความใสบริสุทธิ์ ไม่มีตะกอนหรือเปลี่ยนสี หลังจากการใช้งานทุกครั้ง ในบริเวณสายไฟหรือขั้วต่อในเครื่องปั่นไฟจะต้องทำการหมุนขั้วสายไฟให้แน่น และใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาดอยู่เสมอ สายพานของเครื่องปั่นไฟควรใส่น้ำมันหล่อลื่นทุกครั้งหลังการใช้งาน และควรเปลี่ยนสายยางทันทีหากสายยางชำรุดเสียหาย 3. ในส่วนของหม้อน้ำรังผึ้งด้านนอกของเครื่องปั่นไฟ หลังจากการใช้งาน ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิและป้องกันฝุ่นละออง 4.  ในทุกๆ 3 เดือน หรือการใช้งาน 250 ชั่วโมง จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ ดังนี้ ทำการถ่ายน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องปั่นไฟ เปลี่ยนไส้กรองของน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องปั่นไฟ ทำความสะอาดไส้กรองภายใน ตรวจสอบท่อสายยางและเหล็กรัดท่อในเครื่องปั่นไฟหากชำรุดให้ทำการเปลี่ยนทันที ตรวจสอบสภาพน๊อตของเครื่องปั่นไฟให้หนาแน่นอยู่เสมอ หากชำรุดให้ทำการเปลี่ยนทันที 5.  ในทุกๆ 6 เดือน หรือการใช้งาน 500 ชั่วโมง จะต้องมีวิธีการดูแลรักษาเครื่องปั่นไฟ ดังนี้ ทำการเปลี่ยนไส้กรองเชื้อเพลิงของเครื่องปั่นไฟ ทำการเปลี่ยนไส้กรองอากาศของเครื่องปั่นไฟ